เมนู

ถูกตัด คือถูกถอนขึ้น ปัญญาคือความรู้ ย่อมเจริญโดยตรง สัตบุรุษทั้งหลาย
ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้ ฉะนี้. บทว่า ตสฺมา เป็นต้น เป็น
คำเครื่องกล่าวซ้ำ (คำลงท้าย) อธิบายว่า เพราะเหตุที่ การเห็นสาธุชน
ทั้งหลาย เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมทำพาลชน ให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะฉะนั้น คือ ด้วยเหตุนั้น
การสมาคมกับสัตบุรุษ คือคนดี ได้แก่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงยังประโยชน์
ให้สำเร็จ คือเป็นความดี หมายความว่า การประชุมร่วมกับสัตบุรุษเหล่านั้น
เป็นความเจริญโดยชอบ ดังนี้.
จบอรรถกถาสุสารทเถรคาถา

6. ปิยัญชหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิยัญชหเถระ


[213] ได้ยินว่า พระปิยัญชหเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อผู้อื่นยกตน ควรถ่อมตน เมื่อผู้อื่นตกต่ำ
ควรยกตนขึ้น เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ควร
ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อผู้อื่นยินดีในกามคุณ ไม่ควร
ยินดีในกามคุณ.

อรรถกถาปิยัญชหเถรคาถา


คาถาของท่านพระปิยัญชหเถระ เริ่มต้นว่า อุปฺปตนฺเตสุ นิปเต.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนั้น ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ (เกิด) เป็น
รุกขเทวดา อยู่ในป่าหิมวันต์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า วิปัสสี ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ (อาศัย) อยู่ในซอกเขา ในคราวประชุม
เทวดา ยืนอยู่ท้ายบริษัท เพราะความเป็นผู้มีอานุภาพน้อย ฟังธรรมแล้ว
ได้มีศรัทธาจิตในพระศาสดา วันหนึ่ง เห็นเนินทราย ในแม่น้ำคงคาใสสะอาด
บริสุทธิ์ น่ารื่นรมย์ ระลึกถึงคุณของพระศาสดาว่า คุณของพระศาสดา สะอาด
บริสุทธิ์ (ยิ่งกว่า) เนินทรายนี้ เป็นพระคุณหาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้
ดังนี้. เทวดานั้นปรารภถึงคุณของพระศาสดา อย่างนี้แล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูล
แห่งเจ้าลิจฉวี ในพระนครไพศาลี เจริญวัยแล้ว เป็นนักรบไม่เคยพ่ายแพ้
ในสงคราม ปรากฏพระนามว่า ปิยัญชโห เพราะเป็นที่เกรงขามของศัตรู
ทั้งหลาย.
ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปพระนครไพศาลี ท้าวเธอได้มี
จิตศรัทธาบวชแล้ว อยู่ในป่าเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราอยู่ในระหว่างภูเขาใกล้ภูเขาหิมวันต์ ได้เห็น
กองทรายอันงามแล้ว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ